Roles กับการทำเว็บไซต์ด้วย WordPress นั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงการทำเว็บไซต์คือ Role หรือสิทธิ์ผู้ใช้งาน โดยปกติแล้วระบบ WordPress จะมีระบบ Users สามารถ Login เพื่อแก้ไขเว็บไซต์ หรือเขียนบทความ เป็นต้น ถ้าเรากำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานไม่ตรงจุดประสงค์ก็อาจจะทำให้เว็บไซต์พังได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง ทีมงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีสิทธิ์แค่เขียนบทความแต่มีการตั้งค่าให้เป็น Role Administrator ถ้าเกิดทีมงานกดเข้าผิดเมนูไปลบ หน้าเว็บไซต์แทนที่จะเป็น บทความ ก็มีโอกาศทำให้เว็บเสียหายได้ เรามาดูกันดีกว่าว่าแต่ละ Role มีสิทธิ์ในการเข้าถึงอะไรบ้าง
เลือกอ่านจาก [ สารบัญ ]
User Roles นั้นมีหลักๆดังนี้
Administrator หรือ ผู้ดูแลเว็บไซต์
เปรียบเสมือนผู้ดูแลเว็บไซต์มีสิทธิ์เข้าถึงทุกเมนู และทุกฟังก์ชั่นการใช้งานของเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยน Themes, แก้ไขหน้าเว็บไซต์, เพิ่ม หรือลบ Post Type ต่างๆ, ติดตั้ง และอัพเดท Plugin เป็นต้น
ในสิทธ์ Administrator นี้เหมาะกับนักพัฒนาเว็บไซต์ หรือผู้มีความชำนาญในการทำเว็บไซต์ซึ่งปกติแล้วเวลา Nextstead ทำเว็บไซต์ให้ลูกค้าก็จะใช้สิทธิ์นี้ในการแก้ไขเว็บไซต์
Editor หรือ ผู้แก้ไข
Editor มีสิทธิ์ในการแก้ไข Content ของเว็บไซต์ทุกชนิด เช่น เพิ่ม, ลบ, แก้ไข บทความ หน้าเว็บไซต์ รวมถึง จัดการระบบ Categories, Tags และสามารถลบ, แก้ไข บทความ หน้าเว็บไซต์ หรือ Post Type ต่างๆของผู้อื่นได้เช่นกัน
เมนูต่างๆที่จะหายไปเมื่อสิทธิ์การใช้งานเป็น Editor
- จัดการ Themes
- จัดการ Plugin ทั้ง add, update, delete
- จัดการ Users คนอื่นๆ เช่น ลบผู้ใช้, เพิ่มผู้ใช้, แก้ไขข้อมูลผู้ใช้
- จัดการ Settings สำคัญต่างๆของเว็บไซต์
- ไม่สามารถ import หรือ export ข้อมูลต่างๆออกจากเว็บไซต์ได้
สำหรับสิทธิ์ Editor เหมาะสำหรับ ผู้ตรวจสอบ Content คอยจัดการดูแลบทความต่างๆในเว็บไซต์ ซึ่ง Nextstead จะกำหนดสิทธิ์นี้ให้กับเว็บไซต์ที่มีผู้เขียนหลายท่านให้สามารถแก้ไขหรือ ลบ content ที่ไม่ต้องการได้ แต่สิทธิ์นี้ก็ยังสามารถลบหน้าเว็บไซต์ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นก็ต้องระวังเหมือนกับสิทธิ์ Administrator
สำหรับสิทธิ์นี้ก็ตามชื่อเลย คือผู้เขียนมีสิทธิ์ในการเขียน บทความ ลบ แก้ไข บทความของตัวเองเท่านั้น ไม่สามารถลบของผู้อื่นได้ รวมถึงเมนูจะหายไปเหมือนกับ Editor อีกด้วย แต่สิ่งที่ไม่สามารถทำได้คือ เพิ่ม Categories เองต้องให้ Editor หรือ Administrator เป็นผู้เพิ่มให้เท่านั้น แต่ก็ยังสามารถ เพิ่ม, ลบ, แก้ไขระบบ Tags ได้อยู่
และยังสามารถดู comments ในบทความที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติจาก Editor ได้ แต่ไม่สามารถกดอนุมัติ หรือลบ comments ได้เช่นกัน
สิทธิ์ Author นี้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด เนื่องจากจัดการ Content ได้แค่ในส่วนของตัวเองเท่านั้นทำให้เกิดผลกระทบกับเว็บไซต์น้อยที่สุด
Contributor หรือ ผู้มีส่วนร่วม, สนับสนุน
ในสิทธิ์ Contributor นี้จะเหมือนกับ Author ทุกอย่าง แต่จุดที่ต่างกันคือ ไม่สามารถเผยแพร่โพสของตัวเองได้ต้องได้รับการตรวจสอบจาก Editor ก่อนและต้องให้ทางผู้ตรวจสอบกดเผยแพร่โพสนั้นๆให้แทน และสิ่งที่ขัดใจที่สุดสำหรับสิทธิ์นี้คือไม่สามารถอัพโหลดรูปได้!! อ่าวแล้วจะเขียน Post ยังไงซึ่งปัญหานี้แก้ได้ด้วยการหา Plugins Roles ต่างๆมาแก้ไขตรงนี้ได้ครับ
สิทธิ์ Contributor นี้เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีผู้เขียนหลายท่าน และหลายเรื่องมากๆจึงควรได้รับการตรวจสอบและอนุมัติโดยผู้ดูแลก่อนเผยแพร่บทความ เป็นต้น
Subscriber หรือ ผู้อ่าน, ติดตาม
Subscriber แทบจะไม่มีสิทธิ์ในการทำอะไรกับเว็บไซต์เลย มีหน้าที่ในการอ่าน หรือรับข่าวสารใหม่ๆจากทางเว็บไซต์ซึ่ง Roles นี้ Plugins แนว Newsletter จะใช้สิทธิ์นี้ซะส่วนใหญ่ รวมถึงการทำ Marketing เพราะตอนที่ผู้ใช้สมัครจะต้องกรอก Email เราสามารถที่จะยิงโฆษณาไปหากลุ่มผู้ติดตาม หรือแจ้งข่าวบทความใหม่ๆเป็นต้น